• Follow Us :
trends

INSIGHTS

การจ้างงานสหรัฐชะลอตัว แต่ดัชนีภาคการผลิตปรับเพิ่มขึ้น ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวทิศทางแข็งค่า

4 ก.ย. 2566

สหรัฐรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรปรับเพิ่มขึ้น 187,000 ตำแหน่งในเดือน ส.ค. สูงกว่าคาดการณ์เล็กน้อย

และ อัตราการว่างงานปรับขึ้นสู่ระดับ 3.8% สูงที่สุดในรอบ 18 เดือน ตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยปรับเพิ่มขึ้น 4.3% ต่ำกว่าคาดการณ์เล็กน้อย บ่งชี้ถึงการชะลอตัวของเงินเฟ้อ

ขณะที่ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 47.6 ในเดือนส.ค. สูงกว่าคาดการณ์ที่ระดับ 47.0 ส่งผลให้ดัชนีดอลลาร์สหรัฐปรับตัวทิศทางแข็งค่า

ช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 35.126 และ ดัชนีดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 104.24


trends

INSIGHTS

ประธานเฟดยังคงส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวแข็งค่าเทียบเงินสกุลหลัก

28 ส.ค. 2566

นายเจอโรม พาวเวล กล่าวในการประชุมประจำปีเฟดที่เมืองแจ็กสัน โฮล ไวโอมิง ว่าเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง แม้ว่าได้ชะลอตัวลงจากระดับสูงสุดแล้ว

และเฟดพร้อมที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อไป และจะคงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงไปจนกว่าเงินเฟ้อจะปรับตัวลงอย่างยั่งยืน ...

ค่าเงินบาทปรับตัวอยู่ในกรอบแคบหลังจากแข็งค่าขึ้นหลังสถานการณ์การเมืองมีความชัดเจนขึ้นหลังมีนายกรัฐมนตรี

โดยนักลงทุนติดตามความคืบหน้าของการจัดตั้งคณะรัฐมนตรี ชุดใหม่ในสัปดาห์นี้

เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 35.27 และดัชนีดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 104.08

Read more

trends

INSIGHTS

เงินเฟ้อ PCE ชะลอตัว ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า

7 ส.ค. 2566

กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payroll) เพิ่มขึ้น 187,000 ตำแหน่ง

ในเดือน ก.ค. ต่ำกว่าคาดการณ์ที่ระดับ 200,000 ตำแหน่ง ...

โดยนักลงทุนมองตัวเลขการจ้างงานที่ต่ำกว่าคาด อาจเป็นปัจจัยชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐ และอาจยุติการคุมเข้มนโยบายการเงิน ทั้งนี้อัตราการว่างงานปรับตัวลดลงสู่ระดับ 3.5%

เงินยูโรแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 1.10 เทียบดอลลาร์สหรัฐ แม้ยอดค้าปลีกของยูโรโซนปรับตัวลดลงเมื่อเทียบรายปี จากข้อมูลการจ้างงานสหรัฐที่อ่อนแอกว่าคาด

โดยปัจจัยที่ยังต้องติดตามต่อเนื่อง ได้แก่ ตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐ ตัวเลขเงินเฟ้อไทย และ สถานการณ์การเมือง

เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 34.70 และ ดัชนีดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 102.08

Read more

trends

INSIGHTS

เงินเฟ้อ PCE ชะลอตัว ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า

31 ก.ค. 2566

สหรัฐรายงานดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ทั่วไปปรับตัวขึ้น 3.0%ในเดือนมิ.ย.

เมื่อเทียบรายปีและ ชะลอตัวลงจาก 3.8% ในเดือนพ.ค. ...

ส่วนดัชนี PCE พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 4.1% ในเดือน มิ.ย. เมื่อเทียบรายปี ชะลอตัวลงจาก 4.6% ในเดือน พ.ค. โดยนักลงทุนมองว่าการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดสัปดาห์ก่อนมาที่ระดับ 5.25%-5.50% น่าจะเป็นครั้งสุดท้ายในวัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้นนี้ ส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวอ่อนค่า

ขณะที่บริษัทมากกว่าครึ่งใน S&P 500 รายงานผลประกอบการไตรมาส 2 สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ สะท้อนว่าการชะลอตัวเศรษฐกิจสหรัฐไม่รุนแรง

เช้านี้ดอลลาร์บาท ซื้อขายอยู่ที่ 34.21 ส่วนดัชนีดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 101.64

Read more

trends

INSIGHTS

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ตลาดมองเฟดปรับขึ้นดอกเบี้ยกลางสัปดาห์นี้

24 ก.ค. 2566

ในการประชุมเฟดกลางสัปดาห์นี้ 25-26 ก.ค. นักลงทุนให้น้ำหนัก 99.8% ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.25-5.50%

ดยตลาดพันธบัตรสหรัฐยังคงเป็นภาวะ Inverted Yield Curve ...

โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2 ปี อยู่ระดับ 4.85% ยังสูงกว่า พันธบัตรอายุ 10 ปี ที่ 3.84% ขณะที่ตลาดคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางยุโรป ECB จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% กลางสัปดาห์นี้เช่นกัน

ค่าเงินบาทปรับตัวแนวอ่อนค่าเล็กน้อย โดยความไม่ชัดเจนทางการเมืองและการจัดตั้งรัฐบาลอาจส่งผลต่อค่าเงินบาทในระยะสั้น

เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 34.49 และดัชนีดอลล่าร์สหรัฐอยู่ที่ 101.30

Read more

trends

INSIGHTS

เงินเฟ้อสหรัฐ PCE ชะลอตัว ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า

3 ก.ค. 2566

สหรัฐรายงานตัวเลขดัชนีการใช้จ่ายส่วนบุคคล PCE (Personal Consumption Expenditure) ทั่วไป ปรับขึ้น 3.8% ในเดือน พ.ค. เมื่อเทียบรายปี ส่วนดัชนี PCE พื้นฐานปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.6% เมื่อเทียบรายปี ...

ต่ำกว่าคาดการณ์เล็กน้อย และเพิ่มขึ้น 0.3% เมื่อเทียบรายเดือน เป็นไปตามการคาดการณ์ สะท้อนการลดแรงกดดันที่เฟดอาจต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวอ่อนค่าลง โดยดัชนี PCE ถือเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ

ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นจากการออ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐ หลังจากอ่อนค่าไปแตะระดับ 35.7 เมื่อกลางสัปดาห์ ทั้งนี้หากการเมืองไทยมีทิศทางเชิงบวกเกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาล อาจส่งผลต่อการแข็งค่าต่อเนื่องขึ้นของค่าเงินบาท

เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 35.29 และดัชนีดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 102.99

Read more

trends

INSIGHTS

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า จากแรงหนุนเฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อและแนวโน้มเศรษฐกิจถดถอยในยูโรโซน

26 มิ.ย. 2566

ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวในทิศทางแข็งค่าเทียบเงินสกุลหลัก จากแรงหนุนการคาดการณ์ว่าเฟดจะยังคงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 1-2 ครั้ง ...

แม้เศรษฐกิจมีแนวโน้มอ่อนแอลง จากการเปิดเผยตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ที่อ่อนแอลง โดยเจ้าหน้าที่เฟดให้ความเห็นว่าตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงสูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้ ขณะที่ตัวเลขดัชนี PMI ของยูโรโซนสะท้อนความอ่อนแอของการขยายตัวของธุรกิจ และภาวะเศรษฐกิจถดถอย ส่งผลให้นักลงทุนกลับเข้าซื้อดอลลาร์สหรัฐในฐานะสกุลเงินปลอดภัย

เงินบาทปรับตัวอ่อนค่าจากการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐและปัจจัยภายในความไม่แน่นอนทางการเมืองในการจัดตั้งรัฐบาลใหม่

เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 35.23 และดัชนีดอลลาร์สหรัฐ อยู่ที่102.73

Read more

trends

INSIGHTS

ดอลลาร์บาทเคลื่อนไหวกรอบแคบ นักลงทุนคาดเฟดคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมสัปดาห์นี้

12 มิ.ย. 2566

สัปดาห์นี้ นักลงทุนจับตาตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐ (CPI) ในวันอังคารที่ 13 มิ.ย. และการประชุมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันพุธที่ 14 มิ.ย. โดยนักลงทุนให้น้ำหนัก 70% ว่าเฟดจะคงดอกเบี้ยที่ระดับ 5.00-5.25% ...

ขณะเดียวกัน ธนาคารขนาดใหญ่ของจีนปรับลดดอกเบี้ยเงินฝากในเงินสกุลหยวนตามนโยบายรัฐบาล เพื่อเป็นการลดต้นทุนการกู้ยืม และ กระตุ้นเศรษฐกิจด้านการบริโภคและการลงทุน โดยอัตราเงินเฟ้อของจีนมีการชะลอตัว ซึ่งค่อนข้างสวนทางกับทั่วโลก

เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 34.71 และดัชนีดอลล่าร์สหรัฐอยู่ที่ 103.67

Read more

trends

INSIGHTS

ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวทิศทางแข็งค่า การเจรจาข้อตกลงเพดานหนี้สหรัฐมีข้อตกลงร่วมกัน

29 พ.ค. 2566

การเจรจาเพิ่มเพดานหนี้สหรัฐมีความคืบหน้าและมีแนวโน้มบรรลุข้อตกลงร่วมกันทันวันที่ 1 มิ.ย. นี้ โดยเงื่อนไขคือการยืดหนี้ออกไปอีก 2 ปีและมีการจำกัดค่าใช้จ่ายด้านงบประมาณด้านต่างๆเพิ่มเติม ...

กระทรวงพาณิชย์พาณิชย์สหรัฐรายงานตัวเลข ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพือการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ทั่วไป และพื้นฐานปรับเพิ่ม 4.4% และ 4.7% ในเดือน เม.ย. เทียบรายปี สูงกว่าคาดการณ์เล็กน้อย โดยล่าสุดนักลงทุนให้น้ำหนัก 65.4% ที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมวันที่ 13-14 มิ.ย. นี้

เงินบาทปรับตัวทิศทางอ่อนค่าจากปัจจัยภายนอกที่ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า และปัจจัยภายในเกี่ยวกับความไม่แน่นอนในการจัดตั้งรัฐบาลและนโยบายภาษีต่างๆของพรรคร่วมรัฐบาล

เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 34.80 และ ดัชนีดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 104.30

Read more

trends

INSIGHTS

ตลาดจับตาการเจรจาเพดานหนี้สหรัฐ นักลงทุนให้น้ำหนักเฟดคงดอกเบี้ยครั้งถัดไป

22 พ.ค. 2566

นักลงทุนคาดการณ์เฟดอาจหยุดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัดไปในเดือน มิ.ย. หลังตัวเลขเงินเฟ้อออกมาค่อนข้างเป็นตามคาดและการขึ้นดอกเบี้ยอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจสหรัฐและระบบธนาคาร ...

ขณะที่การเจรจาการปรับเพิ่มเพดานหนี้ของสหรัฐยังคงไม่มีข้อสรุป โดยหากไม่มีการปรับเพิ่มอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในตลาดการเงิน เนื่องจากรัฐบาลสหรัฐจะผิดนัดชำระหนี้อย่างเร็วที่สุดวันที่ 1 มิ.ย.นตลาดการเงิน เนื่องจากรัฐบาลสหรัฐจะผิดนัดชำระหนี้อย่างเร็วที่สุดวันที่ 1 มิ.ย.

เงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย หลังจากปรับตัวอ่อนค่าเทียบดอลลาร์สหรัฐเมื่อสัปดาห์ก่อน โดยนักลงทุนคอยจับตาสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง การจัดตั้งรัฐบาล และนโยบายของรัฐบาลใหม่

เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 34.40 และ ดัชนีดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 103.0

Read more

trends

INSIGHTS

ตัวเลขการจ้างงานสหรัฐดีกว่าคาด แต่นักลงทุนให้น้ำหนักเฟดชะลอขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวทิศทางอ่อนค่า

8 พ.ค. 2566

สหรัฐรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรแข็งแกร่งกว่าคาด ที่ 253,000 ตำแหน่งในเดือน เม.ย. ขณะที่อัตราการว่างงานอยู่ที่ 3.4% ถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบหลายปี และอัตราค่าจ้างรายชั่วโมงยังคงเพิ่มขึ้นทั้งรายเดือนและรายปี สะท้อนความแข็งแกร่งของตลาดแรงงานในสหรัฐ ...

ทั้งนี้หลังจากการขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ของเฟดเมื่อสัปดาห์ก่อน อยู่ที่ระดับ 5.00-5.25% เฟดได้ส่งสัญญาณว่าอาจมีการชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ย ในการประชุมครั้งหน้า แต่จะยังไม่เห็นการลดดอกเบี้ย เนื่องจากเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง และการเศรษฐกิจถดถอยยังเป็นความเสี่ยง

ส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวในทิศทางอ่อนค่าเทียบเงินสกุลหลัก

เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 34.01 และดัชนีดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 101.18

Read more

trends

INSIGHTS

ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวอ่อนค่าเทียบเงินสกุลหลัก ตลาดรอติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ เพื่อหาแนวโน้มทิศทางดอกเบี้ย

24 เม.ย. 2566

สหรัฐรายงานตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ 53.5 ในเดือนเม.ย. ถือเป็นระดับสูงสุดในรอบ 11 เดือน สะท้อนการขยายตัวของภาคธุรกิจในประเทศ โดยนักลงทุนให้น้ำหนัก 89.1% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.00-5.25% ในการประชุมครั้งถัดไปวันที่ 2-3 พ.ค....

ขณะเดียวกัน รายงาน PMI เดือนเม.ย. ของสหภาพยุโรป และ อังกฤษ ออกมาที่ 54.4 และ 53.9 ตามลำดับ สูงกว่าที่ตลาดคาด ส่งผลให้ค่าเงินยูโรและปอนด์ปรับตัวแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเทียบดอลลาร์สหรัฐ ตลาดจับตารายงานตัวเลข GDP ไตรมาส 1 ตัวเลขเงินเฟ้อ PCE และ รายงานผลประกอบการบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของสหรัฐ เพื่อดูทิศทางการปรับอัตราดอกเบี้ยของเฟดในช่วงครึ่งปีหลัง

เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 34.50 และ ดัชนีดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 101.73

Read more

trends

INSIGHTS

ตัวเลขจ้างงานสหรัฐออกมาตามคาด ตลาดมองเฟดขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% เดือนพ.ค. ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า

10 เม.ย. 2566

กะทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 236,000 ตำแหน่งในเดือน มี.ค. ต่ำกว่าคาดการณ์เล็กน้อยที่ 238,000 ตำแหน่งและ ถือเป็นระดับต่ำที่สุดตั้งแต่ปลายปี 2563 โดยอัตราว่างงานลดลงเล็กน้อยที่ 3.5% และตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงเพิ่มขึ้น 4.2% เทียบรายปี นับเป็นระดับที่ต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน เม.ย. 2564...

ตัวเลขดังกล่าวยังคงสะท้อนความแข็งแรงของเศรษฐกิจสหรัฐขณะที่ความร้อนแรงที่ลดลง โดยนักลงทุนให้น้ำหนัก 66.3% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% และน้ำหนัก 33.7% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ 4.75-5.00% ในการประชุมต้นเดือน พ.ค. 2566 ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวแข็งค่าเทียบเงินสกุลหลัก

เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 34.27 และดัชนีดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 102.18

Read more

trends

INSIGHTS

สัญญาณเงินเฟ้อสหรัฐชะลอตัว ตลาดคลายกังวลเฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ย เช้านี้โอเปกพลัสประกาศลดกำลังการผลิต

3 เม.ย. 2566

สหรัฐรายงานเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ก.พ. เพิ่มขึ้น 4.6% เมื่อเทียบรายปี ต่ำกว่าตลาดคาดการณ์ที่ 4.7% โดยตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นขานรับการคาดการณ์ชะลอตัวของการขึ้นดอกเบี้ย และ ปัญหาสถาบันการเงินเริ่มปรับตัวทิศทางผ่อนคลาย...

โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางคณะกรรมการกำกับนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเอกฉันท์ให้ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ตามตลาดคาดและคาด GDP ไทยเติบโตที่ 3.6% ในปี 2566 โดยเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีที่ 2.9% ขณะที่ประเมินว่านักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทยปีนี้ 28 ล้านคนก่อนเพิ่มขึ้นเป็น 35 ล้านคน ในปี 2567

เช้านี้โอเปกพลัสประกาศลดกำลังการผลิต 1.16 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่งผลให้น้ำมันดีดตัวแรง และทำให้ตลาดมองว่าเงินเฟ้ออาจปรับตัวสูงขึ้นใหม่

เช้านี้ดอลล่าร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 34.28 และ ดัชนีดอลล่าร์สหรัฐอยู่ที่ 102.84

Read more

trends

INSIGHTS

ดอลลาร์สหรัฐฟื้นตัวเล็กน้อยหลังตลาดกังวลวิกฤตธนาคารดอยซ์แบงก์

27 มี.ค. 2566

เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาตามตลาดคาด พร้อมให้ความเชื่อมั่นว่า ระบบธนาคารในอเมริกาไม่ได้เผชิญกับวิกฤติสภาพคล่อง โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐระยะ 2 ปี ปรับตัวลดลงอยู่ระดับ 3.80% และยังคงสูงกว่าระยะ 10 ปี ที่ 3.39...

ขณะที่ตลาดหันมากังวลกับเสถียรภาพของดอยซ์แบงก์ (Duetsche Bank) ซึ่งเป็นธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดในเยอรมนี หลังจากตลาดการเงินทั่วโลกได้รับผลกระทบจากปัญหาในภาคธนาคารสหรัฐอเมริกาและสวิตเซอร์แลนด์ ส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐกลับมาแข็งค่า

เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 34.25 และ ดัชนีดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 103.08

Read more

trends

INSIGHTS

ตัวเลขจ้างงานสูงกว่าคาด แต่ชะลอตัวจากเดือน ม.ค. ตลาดกังวลกรณีธนาคารซิลิคอน วาเลย์ (SVB) ปิดกิจการ

13 มี.ค. 2566

เกระทรวงแรงงานเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือน ก.พ. เพิ่มขึ้น 311,000 ตำแหน่ง สูงกว่าคาดการณ์ที่ระดับ 225,000 ตำแหน่ง แต่ชะลอตัวลงจากระดับ 504,000 ตำแหน่งในเดือน ม.ค. ส่วนอัตราการว่างงานปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 3.6% สูงกว่าคาดการณ์ที่ 3.4%...

ขณะเดียวกัน นักลงทุนวิตกเกี่ยวกับความมั่นคงของภาคการเงินการธนาคารสหรัฐ หลังธนาคารซิลิคอน วาเลย์ (SVB) ถูกสั่งปิดกิจการหลังประสบปัญหาสภาพคล่อง และ การขาดทุนจากการขายหลักทรัพย์ประเภทพันธบัตร จากการขึ้นดอกเบี้ยที่รวดเร็วของเฟดในปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ตลาดกังวลว่าผลกระทบอาจเกิดเป็นวงกว้างสำหรับธนาคารขนาดกลางเล็กในสหรัฐ หากผู้ฝากเงินแห่ถอนเงินจากธนาคารเช่นเดียวกับกรณี SVB โดยเฟดมีนัดประชุมฉุกเฉินคืนวันนี้ 13 มี.ค.

โดยนักลงทุนปรับการให้น้ำหนักเหลือเพียง 16.40% ว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ย 0.50% และ น้ำหนัก 82.60% ว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมครั้งถัดไปวันที่ 21-22 มี.ค. และดัชนีดอลลาร์สหรัฐปรับตัวอ่อนค่าเล็กน้อยเทียบเงินสกุลหลัก

เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 34.73 และ ดัชนีดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 104.15

Read more

trends

INSIGHTS

ตัวเลขเงินเฟ้อ PCE พุ่งสูงกว่าคาด ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวแข็งค่า

27 ก.พ. 2566

สหรัฐรายงานตัวเลขดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ทั่วไป เดือน ม.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.4% เมื่อเทียบรายปี ส่วนดัชนี PCE พื้นฐานปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.7% สูงกว่าคาดการณ์ที่ระดับ 4.4% ส่งผลให้นักลงทุนมองว่าเงินเฟ้อยังคงเป็นความเสี่ยง และ กลับมาให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นว่าเฟดอาจปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมครั้งถัดไป...

เงินบาทปรับตัวอ่อนค่าตามดอลลาร์สหรัฐที่ปรับตัวแข็งค่าเทียบเงินสกุลหลัก ส่วนตลาดพันธบัตรสหรัฐยังคงเป็นภาวะ Inverted Yield Curve ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้การเกิดเศรษฐกิจถดถอย โดยปัจจุบันผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 2 ปีอยู่ที่ 4.81 % และ ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี อยู่ที่ 3.93%

เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 34.98 และดัชนีดอลลาร์สหรัฐ อยู่ที่ 105.18

Read more

trends

INSIGHTS

ดอลลาร์สหรัฐลดแรงบวก ตลาดจับตาถ้อยแถลงเจ้าหน้าที่เฟดเพื่อหาสัญญาณทิศทางดอกเบี้ย

20 ก.พ. 2566

หลังจากการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐที่สูงกว่าคาดเล็กน้อย บรรดาเจ้าหน้าที่เฟดได้ออกมาแสดงความเห็นสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เช่น นางมิเชล โบว์แมน กล่าวว่า เฟดต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปจนกว่าจะมีความคืบหน้าในการจัดการเงินเฟ้อ โดยตลาดยังคงมีความกังวลเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดในครั้งถัดไป...

ตัวเลข GDP Q4/65 ของไทยออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดไปมาก โดยขยายตัวเพียง 1.4% เมื่อเทียบรายปี และต่ำกว่าที่ตลาดคาดที่ 3.5% โดยตัวเลข GDP ถูกกดดันจากการหดตัวภาคการส่งออก และการชะลอตัวของการบริโภคและการลงทุน ส่งผลให้ GDP ปี 2565 เติบโตเพียง 2.6%

เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 34.38 และ ดัชนีดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 104.3

Read more

trends

INSIGHTS

ดอลลาร์สหรัฐยังแข็งค่า ตัวเลขความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐสูงขึ้น ตลาดจับตาตัวเลขเงินเฟ้อสัปดาห์นี้

13 ก.พ. 2566

เผลสำรวจมหาวิทยาลัยมิชิแกนรายงาน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 66.4 ในเดือน ก.พ. สูงกว่าเดือน ม.ค. และสูงกว่าคาดการณ์ที่ 65.1 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจปัจจุบันก็ปรับตัวขึ้นที่ 72.6 เช่นกัน โดยตัวเลขความเชื่อมั่น และสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยและแนวโน้มคงดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องจาก เจ้าหน้าที่เฟด ยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐในช่วงนี้...

นักลงทุนจับตาตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐและถ้อยแถลงของเฟดในวันอังคารนี้ (14 ก.พ.)

เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 33.775 และ ดัชนีดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 103.7

Read more

trends

INSIGHTS

ดอลลาร์สหรัฐกลับมาแข็งค่า หลังเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรแข็งแกร่ง หนุนเฟดขึ้นดอกเบี้ย

6 ก.พ. 2566

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 517,000 ตำแหน่งในเดือน ม.ค. 2566 สูงกว่าคาดการณ์ที่ระดับ 185,000 ตำแหน่ง และ อัตราการว่างงานลดลงสู่ระดับ 3.4% ต่ำกว่าคาดการณ์และถือเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบหลายปี ขณะที่ค่าจ้างรายชั่วโมงปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.4% เมื่อเทียบรายปี สูงกว่าคาดการณ์...

ตัวเลขดังกล่าวส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐกลับมาปรับตัวแข็งค่าโดยนักลงทุนมองว่า เฟดน่าจะยังคงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปเพื่อสกัดเงินเฟ้อ

เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 33.565 และ ดัชนีดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 103.19

Read more

trends

INSIGHTS

เงินเฟ้อสหรัฐชะลอตัวตามคาด ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวกรอบแคบ นักลงทุนจับตาผลประชุมผลการประชุมเฟดสัปดาห์นี้

30 ม.ค. 2566

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ทั่วไป และ พื้นฐาน เพิ่มขึ้น 5.0% และ 4.4% ในเดือนธ.ค. เมื่อเทียบรายปี สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์นักวิเคราะห์และ ถือเป็นระดับต่ำสุด นับตั้งแต่เดือน ก.ย.2564 โดยตลาดมองว่าเงินเฟ้อสหรัฐผ่านจุดสูงสุดแล้ว...

นักลงทุนจับตาการประชุมเฟดกลางสัปดาห์นี้ รวมถึงถ้อยแถลงของรายเจอโรม พาวเวล ซึ่งอาจส่งสัญญาณปรับลดดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด หลังตัวเลขเงินเฟ้อชะลอตัว

ตลาดคาดว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมวันที่ 31 ม.ค. - 1 ก.พ. สู่ระดับ 4.50 - 4.75%

เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 32.77 และ ดัชนีดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 102.0

Read more

trends

INSIGHTS

ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า หลังรายงานตัวเลขจ้างงาน มีสัญญาณบ่งชี้เงินเฟ้อชะลอตัว

9 ม.ค. 2566

กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payroll) เพิ่มขึ้น 223,000 ตำแหน่ง ในเดือน ธ.ค. สูงกว่าคาดการณ์ที่ 200,000 ขณะที่ค่าจ้างรายชั่วโมงเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.3% เทียบรายเดือน และ 4.6% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งต่ำกว่าคาดการณ์ที่ 5.0% ส่วนรายงานดัชนีราคาภาคบริการ (ISM Non-Manufacturing PMI) ปรับตัวลงสู่ระดับ 67.6 เป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี สะท้อนความชะลอตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งตัวเลขเหล่านี้ถือ เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าเงินเฟ้อน่าจะผ่านจุดสูงสุดแล้ว ส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวอ่อนค่า...

ขณะเดียวกัน เงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วในรอบกว่า 8 เดือน โดยได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐ และ แรงหนุนจากภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวดีกว่าคาดและการเปิดประเทศของจีน โดยประเทศไทยน่าจะเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางหลักของนักท่องเที่ยวชาวจีน

เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 33.66 และ ดัชนีดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 103.79

Read more

trends

INSIGHTS

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเล็กน้อย หลังเฟดส่งสัญญาณเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

19 ธ.ค. 2565

นายจอห์น วิลเลียมส์ ประธานเฟดสาขานิวยอร์ก ให้ความเห็นว่าเฟดยังคงเน้นย้ำให้ความสำคัญกับเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2.0% และมีความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องเพื่อสกัดเงินเฟ้อ โดยต้องการเห็นหลักฐานทางตัวเลขเพิ่มเติมมากขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่าปัจจัยกดดันทางราคาได้คลี่คลาย...

สหรัฐรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ปรับตัวลดลงที่ระดับ 44.6 ในเดือน ธ.ค. ซึ่งถือเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 4 เดือน โดยเกิดจากการชะลอตัวของคำสั่งซื้อใหม่และการจ้างงาน

เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 34.77 และดัชนีดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 104.57

Read more

trends

INSIGHTS

ดอลลาร์บาทขยับในกรอบจำกัด ตลาดจับตาตัวเลขดัชนี CPI และการประชุมนโยบายเฟด คืนนี้ย

13 ธ.ค. 2565

กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยดัชนี PPI (Producer Price Index) สูงกว่าคาดการณ์เล็กน้อยที่ 7.4% ขณะที่นักลงทุนจับตาการรายงานตัวเลขดัชนี CPI และผลการประชุมนโยบายการเงินของเฟดมาวันที่ 13-14 ธ.ค. นี้ รวมทั้งถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ถึงทิศทางอัตราดอกเบี้ยในปี 2566 โดยตลาดคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% สู่ระดับ 4.25-4.50% ในรอบนี้ หลังจากได้เดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% 4 ครั้งติดต่อกันา...

เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 34.78 และดัชนีดอลลาร์สหรัฐอยู่ที่ 104.99

ปัจจัยสำคัญในประเทศที่ต้องติดตาม ได้แก่ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ในวันพุธที่ 30 พ.ย. และ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐช่วงปลายปี ส่วนปัจจัยนอกประเทศได้แก่ สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศจีน

เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 36.025 และดัชนีดอลลาร์สหรัฐ อยู่ที่ 106.45

Read more

trends

INSIGHTS

ดอลลาร์สหรัฐขยับขึ้นในกรอบแคบ เฟดส่งสัญญาณชะลอขึ้นดอกเบี้ย

28 พ.ย. 2565

ดอลลาร์สหรัฐขยับขึ้นในกรอบแคบ จากการเปิดเผยรายงานการประชุมเฟดซึ่งส่ง สัญญาณชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยช่วงสัปดาห์ก่อน โดยนักลงทุนคาดการณ์ ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.5% ในการประชุมวันที่ 13-14 ธ.ค. หลังจาก ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ติดต่อกันจำนวน 4 ครั้งก่อนหน้า...

ส่วนตลาดหุ้นสหรัฐมีการซื้อขายเบาบางหลังวันหยุดต่อเนื่องในวันขอบคุณพระเจ้า

ปัจจัยสำคัญในประเทศที่ต้องติดตาม ได้แก่ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ในวันพุธที่ 30 พ.ย. และ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐช่วงปลายปี ส่วนปัจจัยนอกประเทศได้แก่ สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศจีน

เช้านี้ดอลลาร์บาทซื้อขายอยู่ที่ 36.025 และดัชนีดอลลาร์สหรัฐ อยู่ที่ 106.45

Read more